สถานการณ์แรงงาน ไตรมาสหนึ่ง ปี 2566 พบว่าผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการจ้างงานทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 1.6 จากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 2.7
เร่งช่วยลูกจ้าง บริษัทไพโอเนียร์ 411 คน ถูกเลิกจ้าง
อสังหาฯ คาดไตรมาส 2 ไม่คึกคัก ลุ้นเปิดโครงการใหม่ครึ่งหลังปี 66 ดันยอดขาย
จากการขยายตัวของการจ้างงานสาขาการค้าส่งและค้าปลีก และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่วนการจ้างงานสาขาการผลิตขยายตัวได้เล็กน้อย
ขณะที่สาขาที่มีการจ้างงานลดลง ได้แก่
- สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า หดร้อยละ 7.2
- สาขาก่อสร้าง หดร้อยละ1.6
คำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด 2024
ส่วนชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้น โดยชั่วโมงการทำงานภาพรวมและเอกชนอยู่ที่ 41.4 และ 44.3 ตามลำดับ เช่นเดียวกับผู้ทำงานล่วงเวลาที่มีจำนวนกว่า 6.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4
ขณะที่ผู้เสมือนว่างงานลดลงกว่าร้อยละ 11.3 อัตราการว่างงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อยู่ที่ร้อยละ 1.05 โดยผู้ว่างงานมีจำนวน 4.2 แสนคน
แต่ที่น่าสนใจคือการขาดแคลนแรงงานด้านดิจิทัลและไอที จากการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้น ทำให้ในแต่ละปีมีความต้องการแรงงานสายงานไอทีประมาณ 2 -3 หมื่นตำแหน่ง แต่กลับมีผู้จบการศึกษาในด้านนี้ไม่เพียงพอแต่ปี 2564 มีผู้สำเร็จการศึกษาเพียง 14. หมื่นคน
โดย ManpowerGroup (2566) ระบุว่า สายงานไอทียังคงเป็นสายงานที่มีความต้องการสูง และหาบุคลากรได้ยากที่สุด อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าติดตาม คือ รายได้และการจ้างงานของแรงงานภาคเกษตรกรรมจากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่จะส่งผลต่อการเพาะปลูกและผลผลิตของเกษตรกร รวมถึงพฤติกรรมการเลือกงานโดยคำนึงถึงค่าตอบแทนที่สูงและสมดุลในชีวิตของคนรุ่นใหม่