หากพูดถึงสุดยอดตำนานนักเตะแห่งไอร์แลนด์เหนือ เชื่อเหลือเกินว่า แฟนบอลร้อยทั้งร้อย น่าจะนึกถึงชื่อของ “เทพบุตรมหาภัย” จอร์จ เบสต์ ตำนานปีกหน้าหยกของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นคนแรก
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ เบสต์ ถูกยกขึ้นหิ้งให้เป็นดาวค้างฟ้า เคียงคู่กับตำนานผู้ล่วงลับอย่าง เปเล่ และ ดีเอโก มาราโดนา ยังมีอีกหนึ่งตำนานนักเตะแห่งไอร์แลนด์เหนือ ที่ชื่อของเขาค่อย ๆ ถูกกาลเวลากลืนหายไปทีละน้อย
เขาคนนั้นคือ จิมมี เฮสตี ดาวยิงเจ้าของฉายา “ONE-ARMED WONDER” หรือ ดาวยิงมหัศจรรย์แขนเดียว
เฮสตี เกิดในกรุงเบลฟาสต์ เมื่อปี ค.ศ. 1936 และต้องเสียแขนซ้ายไปตลอดกาล ตั้งแต่อายุเพียงแค่ 14 ปี
ณ ขณะนั้น หนุ่มน้อยเฮสตี ไปทำงานที่โรงงานใน เจนนีเมาท์ มิลล์ และประสบอุบัติเหตุแขนซ้ายติดอยู่ในเครื่องจักร ตั้งแต่เริ่มงานวันแรก จนหมอต้องตัดสินใจตัดแขนของเขาทิ้ง ขณะที่เจ้าของโรงงานมอบเงินชดเชยให้ 1,200 ปอนด์
อย่างไรก็ตาม แม้จะเสียแขนซ้ายไป แต่ เฮสตี ก็ยังไม่ยอมละทิ้งความฝันของเขา นั่นคือ “ฟุตบอล”
เฮสตี ลงเล่นให้ทีมเยาวชนหลายแห่งในเบลฟาสต์ ก่อนจะมาลงเอยกับ นิวรี ทาวน์ สโมสรในดิวิชั่น B ของไอร์แลนด์เหนือ
ที่ นิวรี ทาวน์ เฮสตีแขนเดียว โชว์ผลงานได้อย่างร้อนแรง และยิงประตูได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จนฟอร์มกระเด็นไปเข้าตา จิม มาโลน ประธานสโมสรดันดอล์ค ทีมดังของไอร์แลนด์ ซึ่งกำลังออกตระเวนหานักเตะหน้าใหม่เข้าไปร่วมทีมอย่างจัง
มาโลน นำเรื่องของ เฮสตี ไปเสนอต่อบอร์ดของดันดอล์ค แต่ก็ถูกปฏิเสธกลับมา เนื่องจากบรรดาสมาชิกฝ่ายบริหารของสโมสร ไม่เชื่อว่า นักเตะที่มีแขนเพียงข้างเดียว จะสามารถเล่นให้กับพวกเขาได้
ทว่า มาโลน ไม่ยอมแพ้ และตัดสินใจใช้เงินส่วนตัวซื้อ เฮสตี มาร่วมทัพ ก่อนที่จะใช้วิชาสาลิกาลิ้นทอง กล่อมจนบอร์ดของดันดอล์ค ยอมเปิดไฟเขียวให้เจ้าแขนเดียวของเขา ได้โอกาสลงประเดิมสนาม
มีการบันทึกเอาไว้ว่า ในเกมเปิดตัวของ เฮสตี ชาวเมืองดันดอล์ค กว่าครึ่ง พากันแห่ไปชมถึงขอบสนาม เนื่องจากอยากจะพิสูจน์ให้เห็นกับตาว่า เจ้าแขนเดียวคนนี้มีดีแค่ไหน
เฮสตี ไม่ทำให้แฟนบอลของดันดอล์คต้องผิดหวัง เมื่อโชว์ลีลาลูกหนังได้อย่างเนียนตา แถมยังยิงได้ 1 ประตู โดยเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกเหตุการณ์ในการประเดิมสนามของ เฮสตี รำลึกความหลังว่า “เขายิงได้หนึ่งประตู และสร้างความตื่นตะลึงด้วยทักษะลูกหนังของเขา”คำพูดจาก สล็อตแจกเครดิตฟรี
“ความสามารถในการเลี้ยงบอลผ่านแนวรับของเขามันเหลือเชื่อมาก ๆ ไม่เพียงแต่ยิงประตูได้เท่านั้น เขายังเป็นคนบงการเกมรุกในทุกจังหวะ เขาครองบอลเอาไว้กับตัวเพื่อรอผ่านบอลให้เพื่อนร่วมทีมได้อย่างเหมาะเหม็ง”
ขณะที่ ฟรานซี คัลลัน เพื่อนร่วมทีมของ เฮสตี กล่าวถึงความยอดเยี่ยมของคู่หูในแนวรุกของตัวเองว่า “มันไม่ง่ายเลยที่จะเป็นนักฟุตบอลเมื่อคุณมีแขนแค่ข้างเดียว”
“คุณต้องใช้แขนช่วยเยอะมากในการวิ่ง ในการเคลื่อนที่ และทรงตัว แต่เอาเข้าจริง คุณก็แทบมองไม่ออกเลยด้วยซ้ำว่า เขามีแขนข้างเดียว”
ด้าน จอห์น เมอร์ฟี อดีตกัปตันทีมดันดอล์ค ก็ออกมาชื่นชม เฮสตี ว่า นอกจากจะไม่ปล่อยให้ความพิการมาเป็นอุปสรรคในการเล่นฟุตบอลแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์จากแขนด้วน ๆ ของตัวเองได้เป็นอย่างดีด้วย
“เขาจะใช้แขนด้วน ๆ ของเขา ยันคุณเอาไว้ไม่ให้ลุกขึ้นมาได้ ส่วนผู้ตัดสินก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะมองเห็นเพียงแค่แขนเสื้อที่ห้อยต่องแต่งอยู่เท่านั้น”
“ทุกคนอยากจะดูเจ้าตัวแสบแขนเดียวลงเล่น มันเหมือนกับมีคณะละครสัตว์มาเปิดแสดงในเมืองของเราเลยทีเดียว” เมอร์ฟี กล่าว
ส่วน แพดดี มาโลน บุตรชายของ จิม มาโลน ประธานสโมสรดันดอล์ค รำลึกความหลังว่า สมัยยังเด็กเขา และเพื่อน ๆ มักจะเอาแขนซ่อนเอาไว้ในแขนเสื้อเพื่อเลียนแบบฮีโร่ของพวกเขาอย่าง เฮสตี
“เราไม่เคยมอง จิมมี เฮสตี เป็นคนพิการเลย แต่เรามองว่าเขาคือนักเตะที่ยอดเยี่ยม” แพดดี กล่าว
แม้จะถูกปัญหาบาดเจ็บเล่นงานอย่างต่อเนื่อง แต่ เฮสตี ก็สามารถจารึกชื่อของตัวเองลงในหน้าประวัติศาสตร์ของดันดอล์คได้อย่างยิ่งใหญ่ หลังกดไปถึง 103 ประตูใน 6 ฤดูกาล
นอกจากนี้ ยังเป็นกำลังสำคัญในการพา ดันดอล์ค คว้าแชมป์ลีกสูงสุดของไอร์แลนด์ ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี ในปี ค.ศ. 1963 อีกด้วย
การคว้าแชมป์ดังกล่าว ทำให้ ดันดอล์ค ได้โอกาสไปโลดแล่นบนเวที ยูโรเปี้ยน คัพ เป็นครั้งแรกในฤดูกาลถัดมา ทว่าน่าเสียดายที่พวกเขาต้องจอดป้ายตั้งแต่รอบแรก หลังแพ้ให้ ซูริก จากสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยประตูรวม 2 นัด 2-4
ดันดอล์ค ถูก ซูริก บุกมาทุบถึงบ้าน 3-0 ในเกมแรก และ เฮสตี ก็เกือบจะลากต้นสังกัดผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้สำเร็จ หลังโชว์ฟอร์มยิง 1 จ่าย 1 และเกือบยิงได้อีก 1 ประตูในเกมนัด 2 ที่ ดันดอล์ค บุกไปล้างตา ซูริก ได้ถึงสวิตเซอร์แลนด์ 2-1
อย่างไรก็ตาม ชัยชนะที่แดนนาฬิกาก็ยังถูกจารึกเอาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของดนดอล์ค ในฐานะชัยชนะนัดแรกบนเวทียูโรเปี้ยน คัพ ของพวกเขา
หลังจากย้ายไปเล่นให้ โดรเกดา ช่วงสั้น ๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1966 ถึง 1967 เฮสตี ก็ตัดสินใจแขวนสตั๊ด และหันไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในเบลฟาสต์
เขาแต่งงานกับ มาร์กาเรต หวานใจในวัยเด็ก และมีบุตรชายด้วยกัน 2 คนคือ พอล และมาร์ติน
หลังโบกมืออำลาสังเวียนหญ้า เฮสตี ก็หันไปเป็นเจ้ามือรับแทงพนัน
ทว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ เฮสตี ต้องจากโลกนี้ไปด้วยวัยเพียง 38 ปี หลังถูกกลุ่มปฏิบัติการโปรเตสแตนต์ ลอบยิงเผาขนจากด้านหลัง 3 นัด ในเวลา 8 นาฬิกา ของวันที่ 11 ต.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ปี ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามกลางเมืองในไอร์แลนด์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม The Troubles
การเสียชีวิตของ เฮสตี สร้างความเศร้าโศกให้กับแฟนบอลของดันดอล์ค และประธานสโมสรอย่าง จิม มาโลน อย่างมาก โดย แพดดี เผยว่า นั่นคือครั้งเดียวที่ตัวเขาได้เห็นพ่อของตัวเองหลั่งน้ำตา
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา เรื่องราวของ เฮสตี ถูกนำมาสร้างเป็นสารคดีแล้วถึง 3 ครั้ง โดยล่าสุดเรื่องราวของเขาเพิ่งถูกนำมาออกอากาศอีกครั้งทาง Uefa TV ในเดือน มี.ค. นี้นี่เอง.
ภาพ ทวิตเตอร์