รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า เตรียมเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 67 จำนวน 550 ล้านบาท ดำเนินโครงการสะพานข้ามแยกดอนยาง จ.ปัตตานี จุดตัดทางหลวงหมายเลข 42 กับทางหลวงหมายเลข 43 อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หากได้รับงบประมาณคาดว่า เริ่มก่อสร้างได้ในปี 67 แล้วเสร็จปี 69 ใช้เวลาสร้าง 720 วัน
สำหรับการออกแบบทางแยกต่างระดับ ประกอบด้วย วงเวียนรูปดัมเบล หรือเลข 8 ปรับปรุงจากรูปแบบวงเวียนกลมเดิม และเพิ่มระยะตรงกลางให้มีลักษณะ คล้ายวงรี ช่วงกลางมีการเว้าเข้า เพื่อลดขนาดโครงสร้างสะพาน และปลายวงเวียน เกาะกลางวงเวียนรัศมี กว้าง 20-25 เมตร มีช่องจราจรหลักในวงเวียน 2 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจรละ 4.50 เมตรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ก่อสร้างสะพานข้ามทางหลวงหมายเลข 42 มีความกว้างผิวทางรวม 24 เมตร ทิศทางละ 3 ช่องจราจร ความกว้างช่องละ 3.50 เมตร มีความยาว 290.50 เมตร ช่องลอดใต้สะพาน มีความสูงไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร รถทุกชนิดสามารถผ่านได้ ขณะที่จุดกลับรถจะออกแบบให้มีจุดกลับรถเพิ่มเติม บริเวณใต้สะพานบนทางหลวงหมายเลข 43 ทั้ง 2 ทิศทาง บริเวณ กม.86+858 และ กม.86+984
รวมทั้งก่อสร้างทางเท้าความกว้างสุดเขตทาง 3-3.50 เมตร พร้อมระบบระบายน้ำใต้ทางเท้า ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ติดตั้งบริเวณทางแยกต่างระดับ ทางกลับรถ และตามแนวทางหลวงของโครงการ จัดภูมิทัศน์บริเวณวงเวียน ดำเนินการด้านภูมิสถาปัตยกรรมของโครงการ เช่น ประติมากรรมรูปดอกชบาซึ่งเป็นดอกไม้ประจำ จ.ปัตตานี และ รูปเรือกอและเป็นเรือประมงท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตท้องถิ่นที่ประกอบอาชีพประมงเป็นหลักดั้งเดิม
โครงการนี้ไม่มีการเวนคืน และใช้เขตทางหลวงเดิมอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนแนวคิดและการแก้ไขปัญหานั้น แยกดอนยาง อยู่บนแนวเส้นทางหลักการขนส่งสินค้าของสามจังหวัดภาคใต้ ปัจจุบันเป็นทางแยกสัญญาณไฟจราจร มีจราจรหนาแน่น และเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ดังนั้นการออกแบบทางแยกต่างระดับแยกดอนยางมีแนวคิดให้ทางหลวงหมายเลข 43 สามารถเดินทางผ่านทางแยกได้อย่างอิสระ เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางขนส่งหลักเชื่อมสู่ อ.เมืองปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส โดยไม่ผ่าน อ.หนองจิก ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น
จากข้อจำกัดของพื้นที่บริเวณแยกดอนยาง เขตทางหลวงของหมายเลขทางหลวง 43 กว้าง 60 เมตร ฝั่งไป อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ 80 เมตร ฝั่งเลี่ยงเมืองปัตตานี มีเขตทางมากกว่าทางหลวงหมายเลข 42 ซึ่งมีเพียง 30 เมตร จึงได้พิจารณาออกแบบการก่อสร้างโครงสร้างต่างระดับในแนวทางหลวงหมายเลข 43 และด้วยสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ราบ รวมทั้งความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมบริเวณทางแยกดังนั้นแยกดอนยางจึงพิจารณาให้เป็นโครงสร้างสะพานข้ามทางหลวงหมายเลข 42 แทนที่จะใช้โครงสร้างทางลอด เพื่อลดค่าก่อสร้าง และลดภาระในการบำรุงรักษา
เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางให้สะดวก ปลอดภัย ลดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะจุดตัดกระแสจราจรบริเวณทางแยก สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสามจังหวัดชายแดนใต้ ตามนโยบายรัฐบาลที่ประกาศให้ อ.หนองจิก เป็นโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านประตูสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีศักยภาพด้านคมนาคมขนส่งสามารถเดินทางและกระจายสินค้าได้ทั้งทางบกและทางทะเล.คำพูดจาก เล่นเกมสล็อต