นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ประเมินเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในไตรมาส 2 ปี 65 จะขยายตัวมากกว่า 3% มาจากการส่งออกไทยไตรมาส 2 จะขยายตัวได้ถึง 14.4% และมีต่างชาติเข้าเที่ยวไทย 1.5 ล้านคน โดยคาดทั้งปี 65 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6 ล้านคน แม้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้น แต่ยังไม่ทั่วถึง (K-shaped) ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัวได้ 3.3% ส่วนความเสี่ยงเงินเฟ้อสูงขึ้นคาดจะอยู่ที่ 6.2% ซึ่งโจทย์สำคัญคือต้องทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง ไม่สะดุด
ทั้งนี้ สิ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นและไม่สะดุด คือ เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน หรือมีเสถียรภาพด้านราคา เพราะเงินเฟ้อที่สูงจะส่งผลต่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางอย่างผู้มีรายได้น้อย เพราะรายได้หลักของคนกลุ่มนี้มักมาจากเงินเดือนหรือค่าจ้างเพียงแหล่งเดียว ซึ่งหากเงินเฟ้อสูงต่อเนื่องนาน จะทำให้คนคิดว่าเงินเฟ้อจะสูงต่อไปเรื่อย ๆ และยากที่จะปรับลดลง ผู้ประกอบการจึงอาจปรับขึ้นราคาสินค้า และลูกจ้างอาจขอขึ้นค่าจ้างต่อเนื่อง ซึ่งจะยิ่งทำให้เงินเฟ้อเพิ่มเร็วขึ้น หรือเรียกว่าเครื่องยนต์เงินเฟ้อติด
นอกจากนี้ระบบการเงินและระบบสถาบันการเงินทำงานได้ตามปกติ ไม่สะดุด เพราะเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาภาคธนาคารเป็นหลัก โดยกว่า 90% ของธุรกิจและครัวเรือนไทยพึ่งพาสินเชื่อจากธนาคารและนอนแบงก์ รวมถึงสถาบันการเงินยังต้องทำหน้าที่เป็นกลไกส่งผ่านการช่วยเหลือไปยังลูกหนี้เปราะบางและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยยังโตได้ดี ณ พ.ค. 65 โต 6.4% และสูงกว่าบางประเทศในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ (3.2%) และมาเลเซีย (5.1%)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
การที่ระบบธนาคารพาณิชย์จะไม่สะดุด ต้องเห็น (1) ธนาคารพาณิชย์มีฐานะแข็งแกร่ง NPL ต้องไม่เร่งขึ้นเร็วจนทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์บริหารจัดการไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ (NPL ratio) ยังต่ำต่อเนื่อง ณ พ.ค. 65 อยู่ที่ 2.96% ลดลงจากช่วงก่อนโควิด ณ ไตรมาสแรกปี 63 ที่ 3.04% ส่วนอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ 20% อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (LCR) อยู่ที่ 190% และอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 166%
(2) ลูกหนี้รอดไปได้มากที่สุด โดยมาตรการต้องตรงจุดและตอบโจทย์ ใช้ทรัพยากรพอเหมาะ เพราะจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์รอดไปด้วย และ (3) การทำงานของระบบสถาบันการเงินไม่ทิ้งผลข้างเคียงให้กับระบบการเงินโดยรวม ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว การคงมาตรการการเงินที่ส่งผลเป็นวงกว้าง (broad-based) ไว้นานเกินไป อาจบิดเบือนกลไกการทำงานและลดทอนประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงินในระยะยาวได้ เช่น การคงมาตรการลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF ออกไปอีก อาจทำให้สถาบันการเงินบริหารความเสี่ยงไม่เหมาะสม อีกทั้งยังกระทบภาระทางการคลัง
ขณะที่การจำกัดการจ่ายปันผลของธนาคารพาณิชย์เป็นเวลานาน อาจกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน นักวิเคราะห์ และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อีกทั้งต่างประเทศได้ทยอยยกเลิกมาตรการนี้แล้ว